F.A.Q การประเมินตัวชี้วัดของส่วนราชการระดับกรมและองค์การมหาชน
F.A.Q การประเมินตัวชี้วัดของส่วนราชการระดับกรมและองค์การมหาชน
-
1.
ชุดข้อมูลที่นำมาจัดทำบัญชีข้อมูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พิจารณาอย่างไร
ให้เลือกชุดข้อมูลจากภารกิจหลัก 1 ภารกิจ มาดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 แต่ในปีถัดไปก็ควรดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลกับภารกิจที่เหลือ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดแล้ว เพื่อนำไปสู่องค์กรและรัฐบาลดิจิทัล
-
2.
มีการกำหนดขั้นต่ำของจำนวนชุดข้อมูลหรือไม่
ไม่มีการกำหนดจำนวนขั้นต่ำ แต่ขอให้เป็นชุดข้อมูลที่มีความสำคัญกับหน่วยงาน และไม่มีจำนวนน้อยเกินไป
-
3.
ร้อยละ 50 ของข้อมูลเปิดพิจารณาอย่างไร
พิจารณาจากการระบุว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ ตามที่หน่วยงานระบุไว้ใน คำอธิบายชุดข้อมูล
-
4.หน่วยงานใดทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินตัวชี้วัด
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะเป็นผู้ประเมินเป้าหมายขั้นต้น (50.00 คะแนน) และเป้าหมายขั้นมาตรฐาน (75.00 คะแนน)
- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะเป็นผู้ประเมินเป้าหมายขั้นสูง (100.00 คะแนน)
-
5.ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากบัญชีข้อมูล
ประชาชนสามารถเข้าถึงบัญชีข้อมูลหน่วยงานได้อย่างรวดเร็วและพร้อมใช้ชุดข้อมูลเปิด (หมวดหมู่ข้อมูลสาธารณะ) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์หรือสร้างนวัตกรรมข้อมูลได้
-
6.ถ้าหน่วยงานไหนมีคณะทำงาน PMQA อยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะธรรมาภิบาลข้อมูลใช่หรือไม่
ไม่ใช่ เพราะ PMQA เป็นกรอบการพัฒนาการบริหารองค์กร แต่คณะธรรมาภิบาลข้อมูลมีหน้าที่เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ นโยบายการกำกับดูแลข้อมูลให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูล
-
7.
หน่วยงานสามารถระบุคำอธิบายชุดข้อมูลมากกว่า 14 รายการได้หรือไม่
ได้ เพราะคำอธิบายชุดข้อมูล 14 รายการเป็นมาตรฐานที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องจัดทำ แต่จะมีรายการที่มากกว่านี้ได้ขึ้นอยู่กับประเภทของชุดข้อมูล แต่ทุกชุดข้อมูลต้องมีอย่างน้อย 14 รายการนี้ตามที่ สพร. กำหนด และต้องมีข้อมูลครบถ้วน
-
8.
ข้อมูลที่นำมาจัดทำบัญชีข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่หน่วยงานเป็นเจ้าของข้อมูลเองหรือไม่
ใช่ เพราะหน่วยงานเป็นเจ้าของข้อมูลเอง แต่ถ้าข้อมูลที่นำมาจากหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นข้อมูลที่นำมาใช้ภายใน ก็ไม่ควรนำมาขึ้นบัญชีข้อมูลหน่วยงาน
-
9.
แนวทางการติดตั้งระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน
?
- หน่วยงานดำเนินการเอง
- กระทรวงจัดทำระบบกลางให้ใช้งานร่วมกันภายในกระทรวง
- ใช้ระบบบัญชีหน่วยงานร่วมกัน (Agency Data Catalog As a Service) บนระบบคลาวด์ภาครัฐ
-
10. ถ้าหน่วยงานยังไม่มี API แต่ต้องการพัฒนาให้มี API ไว้ใช้งาน
จะดำเนินการอย่างไร
มี 2 แนวทาง คือ
1) หน่วยงานต้องพัฒนา API ขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ โดยคำนึงถึงโปรโตคอลที่สามารถส่งชุดข้อมูลออกสู่ภายนอกได้อย่างปลอดภัย
2) หน่วยงานใช้ความสามารถของ CKAN โดยทำการอัปโหลดชุดข้อมูลที่เป็นแบบมีโครงสร้าง เพื่อให้โปรแกรม CKAN สร้างลิงก์ Data API ให้
-
11. ข้อมูลที่นำขึ้นระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog)
กับข้อมูลที่นำขึ้นเว็บไซต์ https://data.go.th เป็นข้อมูลชุดเดียวกันหรือไม่
ใช่ กรณีหน่วยงานมีการจัดทำระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุประเภทข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ หน่วยงานไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ https://data.go.th แล้ว เนื่องจากระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐจะทำการดึงข้อมูลขึ้นเว็บไซต์อัตโนมัติ
-
12. ใครเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงาน
เจ้าของข้อมูลเป็นผู้ดำเนินงาน เพราะเจ้าของข้อมูลเป็นผู้ที่รู้รายละเอียดในชุดข้อมูลที่ตนต้องรับผิดชอบ และย่อมทราบดีว่าชุดข้อมูลมีผู้ใดใช้งาน
-
13. การนำเข้าชุดข้อมูล และคำอธิบายข้อมูลในระบบบัญชีข้อมูล CKAN
มีแนวทางอย่างไรบ้าง
การนำเข้าข้อมูลและคำอธิบายข้อมูล สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ ขึ้นชุดข้อมูลด้วยหน้าเว็บ (Front-End) หรือขึ้นชุดข้อมูลด้วยคำสั่ง (Back-End)
-
14. หน่วยงานมีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog)
อยู่แล้วต้องทำอย่างไร
หน่วยงานที่มีระบบบัญชีข้อมูลอยู่แล้ว ต้องพิจารณาปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลให้ครบถ้วนทั้ง 14 รายการ หรือหน่วยงานอาจจะนำโปรแกรม CKAN ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นผู้พัฒนานำมาใช้งานแทน
-
15. หน่วยงานต้องทำคำอธิบายข้อมูลเชิงเทคนิค หรือไม่
ในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 จะไม่ประเมินการจัดทำคำอธิบายข้อมูลเชิงเทคนิค เนื่องจากการจัดทำคำอธิบายข้อมูลเชิงเทคนิค อาจไม่จำเป็นต้องมีในข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง แต่สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้างนั้น ควรมีคำอธิบายข้อมูลเชิงเทคนิคหรือที่เรียกว่านามานุกรม ที่เป็นส่วนอธิบาย สดมภ์ (Column) ข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลเข้าใจโครงสร้างของข้อมูลมากขึ้น
-
16. หน่วยงานที่นำส่งข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลไว้ที่เว็บไซต์ https://data.go.th
แล้ว จำเป็นต้องทำระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานหรือไม่
ให้หน่วยงานพิจารณา 2 แนวทาง ดังนี้
1. ระหว่างที่หน่วยงานจัดทำระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ขอให้หน่วยงานยังคงต้องส่งข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ https://data.go.th เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
2. เมื่อหน่วยงานจัดทำระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานเสร็จแล้ว หน่วยงานขึ้นรายการชุดข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลไว้ที่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และเว็บไซต์ https://data.go.th จะรวบรวมรายการชุดข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลพร้อมข้อมูลที่เผยแพร่ตาม URL ไปเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://data.go.th โดยอัตโนมัติ
-
17. ในกรณีที่มีหลายชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่เหมือนกัน
การคำนวณคะแนนขั้นสูงจะดำเนินการอย่างไร
โดยพิจารณาคะแนนจำแนกตามประเภทข้อมูล ตาม 3 ขั้นย่อยในขั้นสูง ในแต่ละรายชุดข้อมูล หลังจากนั้นจึงนำคะแนนที่ได้ในแต่ละชุดข้อมูลมาเฉลี่ย ตามตารางเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด
-
18.
เกณฑ์การประเมินขั้นสูงจำเป็นต้องดำเนินการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบ
API หรือไม่
จำเป็นต้องดำเนินการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงในรูปแบบ API (Application Program Interface) จึงจะได้คะแนนขั้นสูง แต่หากหน่วยงานไม่สามารถดำเนินการได้ถึง API หน่วยงานก็จะได้คะแนนตามเงื่อนที่กำหนดไว้
-
19.
เมื่อเลือก Focus area แล้วใครเป็นผู้กำหนด ประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus area
หน่วยงานสามารถกำหนดประเด็นการดำเนินงานได้เอง
-
20.
สามารถเลือก Focus area หรือประเด็นการดำเนินงานได้กี่ประเด็น
หน่วยงานเลือกดำเนินการอย่างน้อย 1 Focus area ซึ่งหากเลือกดำเนินการมากกว่า 1 Focus area หรือมากกว่า 1 ประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus area เดียวกันก็ได้
-
21.
เมื่อเลือกประเด็นการดำเนินงานแล้ว ต้องมีชุดข้อมูลจากทุกภารกิจของหน่วยงานหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องเลือกชุดข้อมูลจากทุกภารกิจ แต่ให้พิจารณาเลือกชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับประเด็นการดำเนินงานจากภารกิจใดก็ได้ในหน่วยงาน
-
22.
หากหน่วยงานต้องการเสนอนอกเหนือจาก 10 Focus Areas ได้หรือไม่ อาจมองว่าเป็นภารกิจที่สำคัญกว่า
ให้หน่วยงานเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น เพื่อไม่ให้ข้อมูลในภาพรวมกระจัดกระจาย และใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้
-
23.
หากหน่วยงานไม่มี Focus Area ให้เลือกทำอย่างไร
ให้เลือก Focus area ในด้านที่ใกล้เคียงกับภารกิจของหน่วยงาน หากไม่สามารถเลือกได้ เพราะมีภารกิจเป็นหน่วยงานเชิงนโยบาย สามารถเลือกด้านที่ 9 การบริหารจัดการภาครัฐ
-
24.
หน่วยงานใดเป็นผู้ตรวจประเมินการนำชุดข้อมูลเปิดไปใช้แสดงผล ตามเป้าหมายขั้นสูง (หัวข้อที่ 2) และต้องแนบเอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
สพร. เป็นผู้ตรวจประเมินจากหลักฐานการแสดงการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูล ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล โดยตัวอย่างหลักฐานที่แสดง ตาม ppt ชี้แจง หน้าที่ 21
-
25.
หากไม่ดำเนินการเรื่องการนำชุดข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ตามเป้าหมายขั้นสูง (หัวข้อที่ 2) จะนับคะแนนประเมินหรือไม่อย่างไร
หากหน่วยงานไม่มีหลักฐานแสดงการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูล จะไม่ได้คะแนนประเมิน 5 คะแนนในเป้าหมายขั้นสูง (คะแนนรวมในเป้าหมายขั้นสูง = 25)
-
26.
การกำหนดชุดข้อมูลที่ดำเนินการในปี 2565 กำหนดให้ใช้เฉพาะชุดข้อมูลใหม่ หรือสามารถนับรวมชุดข้อมูลเก่าด้วย
สามารถนำชุดข้อมูลของปี 64 มาต่อยอดทำให้ครบได้และประเด็นในการเลือกการดำเนินงานภายใต้ Focus Area ส่วนราชการต้องเลือกภายใต้ภารกิจของหน่วยงาน และนำมาซึ่งชุดข้อมูลใหม่ของปี 2565 และบางชุดข้อมูลอาจเป็นชุดข้อมูลของปี 2564 ที่นำมาต่อยอด ให้ครบตามเกณฑ์ประเมิน
-
27.
หน่วยงานไม่มีภารกิจใน Focus Area สามารถเลือกตัวชี้วัด Digitalize Process ได้
หน่วยงาน สามารถเลือกตัวชี้วัด Digitalize Process ได้
-
28.
หากหน่วยงานเคยดำเนินการทำตัวชี้วัด open data ปี 2564 มาแล้ว และต้องการทำต่อปี 2565 ถ้าเลือกดำเนินการในชุดข้อมูลที่ไม่ซ้ำ แต่ภารกิจซ้ำสามารถทำได้หรือไม่
สามารถทำได้ สำหรับการดำเนินการ ปี 2565 ขอให้ส่วนราชการเลือกจาก Focus Area เป็นอันดับแรก ซึ่งบางส่วนอาจตรงกับภารกิจเดิมที่ดำเนินการปี 2564 และบางส่วนอาจเป็นภารกิจใหม่ โดยแนวทางการประเมินปี 2565 จะยึด Focus area เป็นหลัก
-
29.
การเลือกจำนวนภารกิจ หน่วยงานควรเลือกภารกิจอย่างน้อยกี่ภารกิจ
การเลือกจำนวนภารกิจนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน และแต่ละบริบทของหน่วยงาน สำนักงาน ก.พ.ร. ไม่ได้กำหนดจำนวนภารกิจในการดำเนินการตามตัวชี้วัด
-
30.
หน่วยงานควรเลือกตัวชี้วัด Open Data หรือ Sharing Data ควรพิจารณาอย่างไร
หน่วยงานสามารถเลือกตัวชี้วัด Open Data หรือ Sharing Data ได้ ทั้งนี้หน่วยงานอาจต้องพิจารณาในส่วนของวัตถุประสงค์ของงาน หากเป็น
(1) Open Data จุดประสงค์คือ หน่วยงานต้องการเปิดเผยชุดข้อมูลที่หน่วยงานเป็นเจ้าของให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์
(2) Sharing Data จุดประสงค์คือ หน่วยงานต้องการจะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยใช้ Platform กลาง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยง
อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานเลือก (2) หน่วยงานอาจต้องดำเนินการจัดทำชุดข้อมูล เพื่อทำข้อมูลให้ได้มาตรฐานก่อนการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ซึ่งในส่วนนี้สามารถขอรับความช่วยเหลือ/ให้คำแนะนำจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้
-
31.
สัญญาอนุญาต หน่วยงานสามารถกำหนดหลักเกณฑ์/ข้อกำหนดกับข้อมูลได้เองหรือไม่
สัญญาอนุญาตหน่วยงานเป็นผู้กำหนด ตามกฏหมายการใช้ข้อมูลของหน่วยงาน
-
32.
ใน Template 3 ระบุเฉพาะข้อมูลที่เราจะเปิดเผยใช่หรือไม่
Template 3 ระบุเฉพาะข้อมูลเปิดทั้งหมด
-
33.
ขั้นตอนสุดท้ายของการเผยแพร่ข้อมูลตามที่ สพร. กำหนด คือการเผยแพร่ในระบบ CKAN และ data.go.th ใช่หรือไม่
การประเมินปี 2565 ให้หน่วยงานนำขึ้นเผยแพร่บนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงานเอง สำหรับการนำไปเผยแพร่บน GD catalog โดยการลงทะเบียนกับสำนักงานสถิติแห่งชาติจะไม่ได้มีการประเมิน แต่เป็นการ ขอความร่วมมือในการให้หน่วยงานลงทะเบียนบัญชีข้อมูลต่อไป
-
34.
เป้าหมายขั้นสูงหน่วยงานต้องมีองค์ประกอบครบทุกหัวข้อหรือไม่ ทั้งที่เป็น structure และ un-structure
ไม่จำเป็น ขึ้นอยู่กับข้อมูลของหน่วยงาน
-
35.
กรณีหน่วยงานมีภารกิจด้านสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร, การถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดทำบัญชี, การพัฒนาความเข้มแข็งทางการเงิน การบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ต้องอยู่ภายใต้ focus area ด้านการเกษตรหรือไม่ หรือสำนักงาน ก.พ.ร. จะเพิ่ม focus area ด้าน สหกรณ์รวมกับด้านการเกษตร
ภารกิจด้านสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ขอให้ท่านเลือก focus area ด้านเกษตร โดยให้หน่วยงานระบุประเด็น และภารกิจที่เกี่ยวข้องภายใต้ focus area ด้านเกษตร ตามบริบทภารกิจของหน่วยงานต่อไป
-
36.
หากเนื้อหาข้อมูลของหน่วยงาน ไม่สามารถเจาะจงและจัดกลุ่มข้อมูลได้ในระดับพื้นที่และเวลา ทำให้ไม่สามารถกำหนดเลือกเงื่อนไขได้ตามหลักเกณฑ์พิจารณาขั้นสูงของTemplate 3 จะมีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร
ในกรณีที่ข้อมูลที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับเวลา และเป็นกลุ่มข้อมูลทั่วไป การระบุพื้นที่ให้ระบุเป็นประเทศ
-
37.
กรณีของหน่วยงานมีภารกิจหลักในการสนับสนุนส่งเสริมหน่วยงานในสังกัด ทำให้มีการดำเนินงานในหลายด้าน ครอบคลุมหลายภารกิจ กรณีแบบนี้ หน่วยงานจะต้องเลือก focus area ทุกด้านที่ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
หน่วยงานเลือกอย่างน้อย 1 ด้าน และไม่จำเป็นต้องดำเนินการทุกด้าน
-
38.
หากหน่วยงานได้ดำเนินงานชุดข้อมูล Open data ครบทั้งหมดในปี 2564 แล้ว จะต้องหาชุดข้อมูลใหม่มาเพิ่มใน ปี 2565 อีกหรือไม่
หากหน่วยงานได้ระบุชุดข้อมูล Open data ครบทั้งหมดในปี 2564 แล้ว การดำเนินการในปี 65 หน่วยงานต้องคัดเลือกชุดข้อมูลใหม่ตาม ดำเนินการ focus area ที่คัดเลือก ทั้งนี้ชุดข้อมูลเดิมปี 2564 ท่านสามารถนำมาต่อยอดเปิดเผยให้ครบ 100% และสามารถนำมาแสดงการใช้ประโยชน์ได้
-
39.
ทุกหน่วยงานจำต้องมีระบบบัญชี
ข้อมูลของหน่วยงาน ที่ติดตั้งจากระบบของสำนักงานสถิติแห่งชาติหรือไม่ และจะต้องนำเข้าคำอธิบายชุดหน่วยงานจะต้องมีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน โดยขอรับการสนับสนุนจากติดตั้งระบบจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมาณเดือน มิถุนายน 2565 สำหรับการนำเข้าข้อมูล metadata 14 คำอธิบายจะดำเนินการผ่านระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน หรือหน่วยงานข้อมูล (metadata) 14 คำอธิบายผ่านระบบฯ อย่างไร
สามารถขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในการนำเข้าระบบบัญชีข้อมูล
-
40.
หน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และทำ MOU ระหว่างกันแล้ว จะสามารถเลือกตัวชี้วัด Sharing Data ได้หรือไม่
หากหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน หรือมากกว่า 1 หน่วยงาน ในลักษณะนี้ หน่วยงานสามารถเลือกดำเนินการตัวชี้วัด Sharing Data ได้ ทั้งนี้หน่วยงานสามารถดูตัวอย่างการตั้งเกณฑ์การประเมิน ตามลิงก์ https://drive.google.com/file/d/1CYoWCSg0fmUYR7m4PBS7kUBd-_CzHB9/view?usp=sharing