คำถามที่พบบ่อย ในการจัดทำระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

28 ตุลาคม 2563    

คำถามที่พบบ่อย

  • ข้อมูลข่าวสาร สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ (ที่มา: พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540)

    ข้อมูล สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียม ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

    ข้อมูลดิจิทัล ข้อมูลที่ได้จัดทำ จัดเก็บ จำแนกหมวดหมู่ ประมวลผล ใช้ ปกปิด เปิดเผย ตรวจสอบ ทำลาย ด้วยเครื่องมือหรือวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล (ที่มา : ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ)

    สถิติ ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผลที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ (ที่มา : พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550)

    บัญชีข้อมูล เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

    ชุดข้อมูล การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

    คำอธิบายข้อมูล คำอธิบายข้อมูล หรือ Metadata คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล และคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร ช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีข้อมูล (Data catalog) ของหน่วยงานและของประเทศ และสนับสนุนในเกิดการเปิดเผยข้อมูล เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (ที่มา: (ร่าง) คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata)สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ)

    คำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล ข้อมูลที่ใช้กำกับและอธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น มี 2 กลุ่มคือ เมทาดาตาเชิงธุรกิจ และเมทาดาตาเชิงเทคนิค

    (1) เมทาดาตาเชิงธุรกิจ (Business Metadata) ให้รายละเอียดของชุดข้อมูล (Datasets) ในด้านธุรกิจ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานข้อมูล (Data User) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Scientist) ตัวอย่างรายการเมทาดาตาเชิงธุรกิจ เช่น ชื่อข้อมูล ชื่อเจ้าของข้อมูล คำสำคัญ คำอธิบายอย่างย่อ วันที่เริ่มต้นใช้งาน วันที่ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ภาษาที่ใช้ ชื่อฟิลด์ข้อมูล
    (2) เมทาดาตาเชิงเทคนิค (Technical Metadata) ให้รายละเอียดของ ชุดข้อมูล (Datasets) ในด้านเทคนิค (Technical) และปฏิบัติการ (Operational) เหมาะสำหรับผู้บริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Administrator) ตัวอย่างรายการเมทาดาตาเชิงเทคนิค เช่น ชื่อตารางข้อมูลในฐานข้อมูล ชื่อฟิลด์ข้อมูลในตารางข้อมูล ประเภทข้อมูล ความกว้างของฟิลด์ข้อมูล คีย์ข้อมูล รวมไปถึงข้อมูลสำหรับการสำรองข้อมูล และกู้คืนข้อมูล (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

    ข้อมูลเปิด ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และแจกจ่ายได้โดยใครก็ตาม แต่ต้องระบุแหล่งที่มาหรือเจ้าของงานและต้องใช้สัญญาอนุญาต หรือเงื่อนไขเดียวกันกับที่มาหรือตามเจ้าของงานกำหนด (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

    ข้อมูลเปิดภาครัฐ ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่ จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัด วัตถุประสงค์ (ที่มา : ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ)

    ข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ สามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (ที่มา : ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เรื่อง หมวดหมู่ของข้อมูล)

    ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ข้อมูลการศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ลายนิ้วมือ เป็นต้น (ที่มา : ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เรื่อง หมวดหมู่ของข้อมูล)

    ข้อมูลความมั่นคง ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐที่ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อย การมีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น ปลอดภัยจากการคุกคาม เป็นต้น (ที่มา : ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เรื่อง หมวดหมู่ของข้อมูล)

    ข้อมูลความลับทางราชการ ข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผย และมีการกำหนดชั้นความลับของข้อมูล (ที่มา : ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เรื่อง หมวดหมู่ของข้อมูล)

  • 1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

    2. พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562

    3. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

    4. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

    5. พระราชบัญญัติ ระเบียบข้อบังคับ กฎกระทรวงเฉพาะของหน่วยงาน เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 ใช้ในการดำเนินงาน

  • 3.1. ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

    3.2. ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ข้อ 5 ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ดังต่อไปนี้

    (1) จัดทำบัญชีข้อมูลภายในหน่วยงาน ระบุชุดข้อมูล และจัดระดับความสำคัญของข้อมูล เปิดภาครัฐที่จะนำไปเปิดเผย อย่างน้อยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตามหน้าที่หรือภารกิจ ของหน่วยงานของรัฐ
    (2) จำแนกหมวดหมู่ กำหนดและจัดประเภทชั้นความลับของชุดข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ
    (3) กำหนดรูปแบบของชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐ อย่างน้อยให้อยู่ในรูปแบบคุณลักษณะ แบบเปิด และจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้ทราบรายละเอียดของชุดข้อมูล
    (4) ให้จัดส่งหรือเชื่อมโยงชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐตามประเภท รูปแบบ และมาตรฐาน ของข้อมูลที่เปิดเผยแก่ประชาชน ให้เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด
    (ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/148/T_0026.PDF)
  • เพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นผู้ผลิตชุดข้อมูลและมีความพร้อมในการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

  • เพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นผู้ผลิตชุดข้อมูลและมีความพร้อมในการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำ

    1. อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งาน ที่ต้องการค้นหาชุดข้อมูลที่สนใจจากหลายแหล่งได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และสามารถเข้าถึงชุดข้อมูลได้หากเจ้าของอนุญาต

    2. อำนวยความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลแบบ API เพื่อการเข้าถึง เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และใช้ประโยชน์ข้อมูล สำหรับวิเคราะห์ เผยแพร่ รวมถึงให้บริการประชาชนในรูปแบบดิจิทัล

    3. ลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการสำรองข้อมูลมาจัดเก็บไว้ภายในองค์กร

    4. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ชุดข้อมูลของเจ้าของข้อมูลได้แบบ Real Time

  • 1. ร่างนโยบาย ดำเนินการโดยทีมบริกรข้อมูล เป็นผู้ร่างนโยบายข้อมูลให้สอดคล้องกับกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวนโยบาย แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและนำเสนอคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล

    2. กำหนดนโยบาย ดำเนินการโดยคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล พิจารณากำหนดนโยบาย เพื่อควบคุมให้เจ้าของข้อมูล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามนโยบายข้อมูลที่กำหนด โดยที่เจ้าของข้อมูลจะเป็นผู้กำหนดสิทธิการเข้าถึงและดำเนินงานใด ๆ กับข้อมูลที่ตนเป็นเจ้าของ ทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้าง ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ขณะที่ผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูลต้องดำเนินการกับข้อมูลให้สอดคล้องกับสิทธิที่ได้รับจากเจ้าของข้อมูล

    3. ตรวจสอบ ดำเนินการโดยทีมบริกรข้อมูล เป็นผู้ตรวจสอบความสอดคล้องกันของการดำเนินงานตามนโยบายข้อมูล ทั้งจากเจ้าของข้อมูลและผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล

    4. รายงานผล ดำเนินการโดยเจ้าของข้อมูลและส่วนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล รายงานผลแก่ทีมบริกรข้อมูล

    5. รายงานผลการตรวจสอบ ดำเนินการโดยทีมบริกรข้อมูล จะรายงานการตรวจสอบการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลทราบ

    6. ปรับปรุง ดำเนินการโดยคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลทบทวนนโยบายข้อมูล และผลการดำเนินงานจากรายงานผลการตรวจสอบเพื่อปรับปรุง และกำหนดแนวทางธรรมาภิบาลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพต่อไป

  • การจัดทำบัญชีข้อมูลเป็นกิจกรรมหนึ่งของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ตามที่ระบุไว้ในประกาศดังต่อไปนี้

    1. ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ ข้อ 5 (1) จัดทำบัญชีข้อมูลภายในหน่วยงาน ระบุชุดข้อมูล และจัดระดับความสำคัญของข้อมูลเปิดภาครัฐที่จะนำไปเปิดเผย อย่างน้อยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตามหน้าที่หรือภารกิจ ของหน่วยงานของรัฐ

    2. ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อ 6 การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน

  • บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

    ตัวอย่างบัญชีข้อมูล เช่น ทะเบียนเกษตรกร ทะเบียนข้าราชการพลเรือน สถิติผู้เข้ารับบริการที่ศูนย์ดำรงธรรม
  • ชุดข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

  • 1. รายการชุดข้อมูล

    2. กลุ่มหรือประเภทข้อมูล

    3. ผู้ครอบครองหรือเจ้าของ

    4. คำอธิบายชุดข้อมูล

  • 1. แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการ หรือหากมีการแต่งตั้งทีมบริกรข้อมูลแล้วให้ใช้ทีมบริกรข้อมูล

    2. ทำความเข้าใจในกระบวนงานและชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องในกระบวนงานขององค์กร

    3. จำแนกชุดข้อมูลตามหมวดหมู่การเข้าถึงข้อมูล

    4. จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) ตามมาตรฐานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด

    5. ติดตั้งระบบบัญชีข้อมูลเพื่อใช้งาน หรือใช้ระบบบัญชีข้อมูลกลางที่เปิดให้บริการกับหน่วยงาน

    6. นำขึ้นระบบบัญชีข้อมูลและระบุแหล่งข้อมูล

  • 1. เป็นกิจกรรมที่ต้องทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของกระบวนงานและผู้ดูแลระบบไอที

    2. เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง

    3. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้กระบวนการนั้นเป็นระบบดิจิทัล

    4. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ตามกฎหมาย ระเบียบ เกณฑ์ที่กำหนด

  • บัญชีข้อมูล ประกอบด้วยรายการชุดข้อมูล และในแต่ละชุดข้อมูลต้องมีคำอธิบายชุดข้อมูล พร้อมชี้ไปยังไฟล์ข้อมูลหรือลิงก์บริการที่จัดเก็บอยู่ ซึ่งอาจมากกว่าหนึ่งแหล่ง

  • 1. มีความสามารถในการจัดการชุดข้อมูลได้

    2. มีความสามารถในการจัดการคำอธิบายข้อมูล

    3. มีความสามารถในการค้นหาชุดข้อมูลและกรองชุดข้อมูลได้

    4. มีความสามารถในการจัดการเปิดเผยหรือปกปิดชุดข้อมูลได้

    5. มีความสามารถในการให้บริการแบบ API

  • สามารถกระทำได้ตามที่หน่วยงานเห็นสมควรแต่ต้องมีคำอธิบายพื้นฐาน 14 ตัวแปรตามที่กำหนด

  • 1. ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน

    2. เจ้าของข้อมูลต้องเป็นผู้ดำเนินงานหลัก

    3. เจ้าหน้าที่ไอทีเป็นส่วนสนับสนุนด้านระบบ

    4. มีโปรแกรมประยุกต์ที่ทำหน้าที่เป็นระบบบัญชีข้อมูล

    5. เป็นกระบวนงานที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  • ชุดข้อมูลที่ดีควรเป็นชุดข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน โดยข้อมูลนั้นจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ถ้าเป็นข้อมูลสถิติควรมีข้อมูลตามระยะเวลาเป็นช่วง ๆ อย่างต่อเนื่องกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กรณีชุดข้อมูลที่มีการใช้ร่วมกันจากหลายๆ ส่วนงาน ควรกำหนดรูปแบบและข้อกำหนดของข้อมูลให้มีมาตรฐานชุดข้อมูล (Datasets Standard) แล้วดำเนินการบูรณาการข้อมูลที่กระจายอยู่ตามส่วนงานเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ และส่งเสริมให้ข้อมูลมีคุณภาพด้วย

  • เมื่อหน่วยงานภาครัฐได้จัดทำระบบบัญชีข้อมูลและเผยแพร่สู่สาธารณะแล้ว จะเกิดประโยชน์ ดังนี้

    (1) ประโยชน์ต่อภาครัฐ จะส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน สร้างความโปร่งใส โดยประชาชนหรือภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดการบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านข้อมูล รวมทั้งปรับปรุงการให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ

    (2) ประโยชน์ต่อภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลเปิดเผยไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ส่งเสริมการขับเคลื่อนนวัตกรรมจากข้อมูลสำหรับภาคเอกชนมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจและลดต้นทุนการผลิตในภาพรวม

    (3) ประโยชน์ต่อภาคประชาชน ช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการดิจิทัลภาครัฐที่ดีขึ้น และนำข้อมูลไปพัฒนาหรือต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ

    (4) ประโยชน์ต่อหน่วยงาน ช่วยบูรณาการความซ้ำซ้อนของข้อมูลให้ความสำคัญกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

  • ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (Agency Data Catalog) หมายถึง ระบบบริการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน มีความสามารถ ในการจัดการชุดข้อมูล การจัดการคำอธิบาย การค้นหา และให้บริการแบบ API (นิยามโดย สสช.)

  • โดยทั่วไปเว็บไซต์ของหน่วยงานทำหน้าที่ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กร มิได้ถูกออกแบบมาเพื่อจัดทำบัญชีข้อมูล และด้วยปัจจุบัน CKAN เป็นโปรแกรม Community ที่ใช้ในการบริการ Open Data ที่ใช้กันกว้างขวาง จึงควรนำ CKAN มาติดตั้งใช้งาน

  • หนึ่งหน่วยงานควรมีหนึ่งระบบบัญชีข้อมูลเพื่อให้การอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลเป็นเอกภาพ เว้นแต่เป็นการจัดทำระบบบัญชีเฉพาะเรื่อง เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูล

  • 1. สามารถใช้ซอฟต์แวร์ CKAN ของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.)

    2. สามารถใช้ซอฟต์แวร์ CKAN จาก CKAN.ORG ได้ที่ https://docs.ckan.org/en/2.9/contents.html

  • แจ้งผ่านระบบสนับสนุนทาง https://gdhelpdesk.gdcatalog.go.th

  • หน่วยงานไม่ต้องจัดทำระบบบัญชีข้อมูลใหม่ก็ได้ แต่ต้องตรวจและปรับคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน สพร. ให้ครบถ้วนอย่างน้อยจำนวน 14 รายการดังนี้

    1. รหัสชุดข้อมูล (Unique Identifier)

    2. ชื่อข้อมูล (Title)

    3. รายละเอียด (Description)

    4. ป้ายกำกับ (Tags)

    5. วันที่เผยแพร่ข้อมูล (Last Updated)

    6. ผู้จัดทำข้อมูล (Publisher)

    7. ชื่อผู้ติดต่อ (Contact Name)

    8. อีเมลผู้ติดต่อ (Contact Email)

    9. เบอร์โทรผู้ติดต่อ (Contact Number)

    10. รูปแบบไฟล์ข้อมูล (Format)

    11. ความถี่ในการเผยแพร่ข้อมูล (Frequency)

    12. หมวดหมู่ (Category)

    13. ภาษา (Language)

    14. ระดับในการเข้าถึงข้อมูล (Public Access Level)

  • 1. บริการให้ความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ ได้ที่ https://gdhelppage.gdcatalog.go.th

    2. จัดอบรมด้านวิชาการให้กับหน่วยงานราชการ

    ● สำหรับผู้จัดทำด้านข้อมูล

    ● สำหรับผู้จัดทำด้านระบบ

  • เป็นชุดข้อมูลที่มีหมวดหมู่เป็นข้อมูลสาธารณะ

  • รูปแบบของชุดข้อมูลที่นำขึ้นระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน ควรเป็นรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้ง่าย โดยระยะแรกเริ่มควรเริ่มด้วยรูปแบบ CSV-file เป็นอย่างน้อย

  • ข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง สามารถนำมาขึ้นระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานได้ แต่จะมีระดับการเปิดเผยข้อมูลที่แตกต่างกัน ข้อมูลส่วนบุคคล มี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บังคับใช้เป็นการเฉพาะ ส่วนการเปิดเผยข้อมูลอื่นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. เฉพาะของหน่วยงาน ประกอบกับ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. 2540 ข้อมูลที่เกี่ยวกับความมั่นคง จะไม่เปิดเผยข้อมูล มีการกำหนดสมาชิกและสิทธิ์การใช้ วัตถุประสงค์เพื่อใช้งานภายในองค์กร และมีชั้นความลับ

  • ใช่ เพราะข้อมูลที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะได้นั้น จะต้องเป็นข้อมูลในหมวดสาธารณะเท่านั้น

  • ใช่ กรณีหน่วยงานมีการจัดทำระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และระบุประเภทข้อมูลตามหมวดหมู่ธรรมาภิบาลข้อมูลว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ หน่วยงานไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ https://data.go.th แล้ว เนื่องจากระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐจะทำการดึงข้อมูลขึ้นเว็บไซต์อัตโนมัติ