F.A.Q และคู่มือ

(GD Catalog System)

09 สิงหาคม 2564    

คำถามที่พบบ่อยสำหรับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog System)
  • บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) ตัวอย่างบัญชีข้อมูล เช่น ทะเบียนเกษตรกร ทะเบียนข้าราชการพลเรือน สถิติผู้เข้ารับบริการที่ศูนย์ดำรงธรรม

  • ชุดข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล

    (ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)

  • 3.1. การจัดทำบัญชีข้อมูลเป็นกิจกรรมหนึ่งของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ตามที่ระบุไว้ในประกาศดังต่อไปนี้

    • ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ ข้อ 5 (1) จัดทำบัญชีข้อมูลภายในหน่วยงาน ระบุชุดข้อมูล และจัดระดับความสำคัญของข้อมูลเปิดภาครัฐที่จะนำไปเปิดเผย อย่างน้อยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตามหน้าที่หรือภารกิจ ของหน่วยงานของรัฐ
    • ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อ 6 การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน

    3.2. การจัดทำบัญชีข้อมูลเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ทราบถึง

    • หน่วยงานของรัฐมีชุดข้อมูลสำคัญที่ตนเป็นเจ้าของและถือครองอยู่มีลักษณะอย่างไรตามกรอบคำอธิบายชุดข้อมูลมาตรฐานที่กำหนด
    • รายละเอียดของชุดข้อมูลประกอบด้วย ลักษณะของข้อมูล ข้อมูลการติดต่อ การสืบค้น การเผยแพร่ และ สิทธิ์การใช้งาน เป็นต้น
  • 4.1. ประโยชน์ต่อภาครัฐ จะส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน สร้างความโปร่งใส โดยประชาชนหรือภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดการบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านข้อมูล รวมทั้งปรับปรุงการให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ

    4.2. ประโยชน์ต่อภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลเปิดเผยไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ส่งเสริมการขับเคลื่อนนวัตกรรมจากข้อมูลสำหรับภาคเอกชนมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจและลดต้นทุนการผลิตในภาพรวม

    4.3. ประโยชน์ต่อภาคประชาชน ช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการดิจิทัลภาครัฐที่ดีขึ้น และนำข้อมูลไปพัฒนาหรือต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ

    4.4. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน ช่วยบูรณาการความซ้ำซ้อนของข้อมูลให้ความสำคัญกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

  • 8.1. หน่วยงานมีบัญชีข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงานภายในและบริการกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน

    8.2. ลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการสำรองข้อมูลมาจัดเก็บไว้ภายในองค์กร

    8.3. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ชุดข้อมูลของเจ้าของข้อมูลได้แบบ Real Time

    8.4. รองรับการส่งต่อชุดข้อมูลขึ้นสู่ระบบ data.go.th

    8.5. ทำให้เกิดการพัฒนาระบบข้อมูลของหน่วยงานให้มีความพร้อมใช้ด้วยรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้งาน

    8.6. อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งาน ที่ต้องการค้นหาชุดข้อมูลที่สนใจจากหลายแหล่งได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผ่านระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และสามารถเข้าถึงชุดข้อมูลได้หากเจ้าของอนุญาต

    8.7. อำนวยความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลแบบ API เพื่อการเข้าถึง เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และใช้ประโยชน์ข้อมูล สำหรับวิเคราะห์ เผยแพร่ รวมถึงให้บริการประชาชนในรูปแบบดิจิทัล

  • ทะเบียนบัญชีข้อมูล หมายถึง ชื่อชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล และ ทรัพยากรชุดข้อมูล โดยทะเบียนบัญชีข้อมูลประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนดังนี้

    1. ชื่อชุดข้อมูล
    2. คำอธิบายชุดข้อมูล
    3. ทรัพยากรข้อมูล
    4. คำอธิบายทรัพยากรข้อมูล

  • เป็นการรวบรวมชุดข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐเป็นเจ้าของ และจัดทำเป็นระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน จากนั้นจึงทำการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลหน่วยงานและชุดข้อมูลสำคัญเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ผ่านระบบลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ เมื่อหน่วยงานแจ้งลงทะเบียนบัญชีข้อมูลเข้ามา ชุดข้อมูลเหล่านั้นจะต้องถูกตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำอธิบายชุดข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อผ่านการตรวจสอบและยืนยันการลงทะเบียนจากนายทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ จะถูกนำไปจัดหมวดหมู่และกำหนดป้ายกำกับ ชุดข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการสืบค้นชุดข้อมูลและส่งต่อไปยังระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐและ นามานุกรมเพื่อให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐต่อไป นอกจากนั้นยังมีการติดตามการคงอยู่ของระบบบัญชีข้อมูลและชุดข้อมูล และติดตามวงจรชีวิตของชุดข้อมูล เพื่อให้บัญชีข้อมูลภาครัฐมีความสมบูรณ์พร้อมใช้อยู่เสมอ

  • การค้นหาด้วยแท็กในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ สามารถค้นหาได้โดยการค้นหาแท็กที่ต้องการ โดยระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ แบ่งแท็กเป็น 2 กรณี ได้แก่ แท็กมาตรฐานของบัญชีข้อมูลภาครัฐ และแท็กโดยหน่วยงาน

  • การสืบค้นตามหมวดหมู่ เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงชุดข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะเรื่องที่สนใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ใช้ในการค้นหารายการข้อมูลตามหมวดหมู่หรือกลุ่มที่ต้องการได้ เช่น ประชากร การเงินและการธนาคาร ทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา การท่องเที่ยว ยุติธรรม คมนาคม เป็นต้น

  • 13.1. การค้นหาคำค้น โดยใส่เงื่อนไขที่ต้องการค้นหามากกว่า 1 เงื่อนไข สามารถค้นหาได้โดยใช้ AND เช่น ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทั้ง "สถิติทางการ" และ "แรงงาน" ให้พิมพ์คำค้นว่า สถิติทางการ AND แรงงาน

    13.2. การค้นหาคำค้นแบบที่มีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถค้นหาได้โดยใช้ OR เช่น ชุดข้อมูลที่เป็น "สถิติทางการ" หรือ "SDG" อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองได้ ให้พิมพ์คำค้นว่า สถิติทางการ OR SDG

    13.3. การค้นหาตามคำค้นแบบที่มีคำค้นหนึ่ง แต่ไม่รวมอีกคำค้นหนึ่ง สามารถค้นหาได้โดยใช้ NOT เช่น ชุดข้อมุลที่เกี่ยวกับ "รายจ่าย" ที่ไม่เกี่ยวกับ "ครัวเรือน" ให้พิมพ์คำค้นว่า รายจ่าย NOT ครัวเรือน

  • สามารถคลิกดูวิธีการแก้ไข ได้ที่ข้อความด้านล่าง การแก้ไขปัญหาการดาวน์โหลดข้อมูล ของ Google Chrome

  • สามารถคลิกดูขั้นตอนการลงทะเบียน Open ID ได้ที่ข้อความด้านล่าง คู่มือการลงทะเบียน Open ID

  • 1. เลือกที่ปุ่ม เข้าสู่ระบบ (มุมขวาบนของจอ)

    2. กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ที่ได้รับหลังจาการลงทะเบียน Open ID

    3. เลือกเข้าสู่ระบบ

    4. เข้าสู่ระบบสำเร็จ (สังเกตมุมขวาบนของจอแสดงชื่อบัญชีผู้ใช้งาน)

  • สามารถคลิกดูรายชื่อระบบบัญชีหน่วยงาน ได้ที่ข้อความด้านล่าง รายชื่อระบบบัญชีหน่วยงาน

ดาวน์โหลดเอกสาร